วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ 

ตั้งอยู่ในท้องที่ อำเภอโขงเจียม และอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สภาพ พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบและเนินเขาเตี้ยๆ โดยมียอดเขาบรรทัดเป็นจุดสูงสุด ความสูงประมาณ 543 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงไหลผ่านตามแนวเขตทางด้านทิศเหนือไปออกประเทศลาว บริเวณแก่งตะนะจะมีสายน้ำที่เชี่ยวและลึก อีกทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำหลายแห่ง จึงทำให้มีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม ตรงกลางมีโขดหินขนาดใหญ่เป็นเกาะกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 50,000 ไร่ หรือ 80 ตารางกิโลเมตร





คำว่า “ตะนะ” จากการเล่าขานตามความเชื่อของชาวบ้านและประชาชนทั่วไป เดิมมาจากคำว่า “มรณะ” เนื่องจากบริเวณแก่งตะนะนี้มีกระแสน้ำไหลที่เชี่ยวกราก และมีโขดหินใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ตลอดจนมีถ้ำใต้น้ำอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านที่สัญจรทางน้ำหรือออกจับปลา มักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกแก่งนี้ว่า “แก่งมรณะ” ตามแรงบันดาลจากสภาพของสายน้ำที่ไหลผ่านแก่งนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า “แก่งตะนะ” จึงตั้งเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ
http://info.dla.go.th/public/travel.do?cmd=goDetail&id=605351&random=1510480363466
สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ เป็นเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำมูล แม่น้ำโขง และ ลำโดมน้อย ซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดเล็ก ไกล้เคียงกับแม่น้ำมูล ไหลผ่าน เขื่อนสิรินธร มาบรรจบกับแม่น้ำมูล ที่หน้าเขื่อนปากมูล ความสูงโดยเฉลี่ยของพื้นที่ประมาณ 200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาบรรทัด สูงประมาณ 543 เมตร สภาพป่าทั่วไปเป็น ป่าเต็งรัง ป่าแพะหรือป่าแดง จะมีป่าดิบเฉพาะบริเวณริมห้วยขนาดใหญ่เท่านั้น สภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นป่าสลับพลาญหินทราย และหินศิลา ส่วนดินเป็นดินลูกรัง ดินบรบือ และดินตะกอน จะมีทรายปะปนในดิน


ที่มา วิกิพีเดียคลิกที่นี่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น